วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 4






บันทึกอนุทินครั้งที่ ๔
วัน ศุกร์  ที่ ๖ เดือนธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๖



    วันนี้คุณครูให้แต่ล่ะกลุ่มออกไปนำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน

ความรู้ที่ได้รับ
  กลุ่มที่ ๑. การนับ
   การนับ หมายถึง   การกระทำทางคณิตศาสตร์โดยใช้การบวกหรือการลบด้วยหนึ่งซ้ำๆ กัน ซึ่งมักใช้ในการหาคำตอบว่ามีวัตถุอยู่เท่าใด หรือเพื่อกำหนดจำนวนวัตถุที่ต้องการ โดยเริ่มจากหนึ่งสำหรับวัตถุชิ้นแรก และกระทำต่อไปบนวัตถุที่เหลือในลักษณะฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง 

 กลุ่มที่ ๒. การวัด 
  การวัด  หมายถึง    กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดของปริมาณอันหนึ่ง เช่นความยาวหรือมวล และเกี่ยวข้องกับหน่วยวัด
           ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่  การเปรียบเทียบและการจัดลำดับในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของหาว่าสิ่งใดยาวที่สุดจะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด

กลุ่มที่ ๓. เรขาคณิต
    เพื่อนๆในกลุ่มเรขาคณิตให้ปฏิทำท่าทางเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตในรูปทรงต่างๆโดยใช้อวัยวะต่างๆในการทำท่าทาง

กลุ่มที่ ๔. พึชคณิต
    คือการแทนค่าตัวเลขด้วยสัญลักษณ์  เช่น
X-Y=A
XY=A
X/Y=A   


กลุ่มที่ ๕. ความน่าจะเป็น
       การนำเอาลูกปิงปองมาสาธิตความน่าจะเป็น โดยเอาลูกปิงปองใส่ในแก้วแล้วจะให้เด็กคิดถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 3




แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ ๓
วันศุกร์  ที่ ๒๒  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๕๖


       วันนี้คณครูได้สอนเกี่ยวกับเทคนิคในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และท้ายคาบคุณครูมีงานใหทำสื่อเกียวกับตัวเลขที่มีดอกไม้แทนเป็นตัวเลข สื่อสำหรับวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้สามารถนำไปดัดแปลงตามความสนใจของเด็กได้ 


ผลงานวันนี้ดอกไม้ 4 กลีบ


แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ ๒





แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ ๒
วันศุกร์  ที่ ๑๕   เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๕๖


  วันนี้คุณครูให้แบ่งกลุ่มละ 5 กลุ่ม กลุ่มล่ะ 12 คน  และให้แต่ละกลุ่มจับฉลากว่าจะได้เรื่องอะไรมีทั้งหมด 5 เรื่อง  ส่วนกลุ่มดิฉันได้เรื่องการวัด และให้มานำเสนอคาบหน้าในชั้นเรียน

 ความรู้ที่ได้รับ 
   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- จำนวนและการดำเนินการ
- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

คณิตศาสตร์หมายถึง
      ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพ  สัญลักษณ์ การพูด  การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข  การคิดคำนวณ ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผล  และความคิดสร้างสรรค์

ความสำคัญ
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
1. โดยการนับ
2. การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
3. การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
4. เรียงลำดับ
5. จัดกลุ่ม


กิจกรรมท้ายคาบสำหรับวันนี้ ดังนี้

      วันนี้ฉันได้วาดรูปปูซึ้งวาดขาไม่ครบ ทั้งที่คุรครูเดินมาทักว่าปูมีกี่ขา ก็ตอบครูว่า 6ขา อย่างมันใจแต่ที่จริงแล้วปูมี 8 ขา



แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ ๑





บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑
วันศุกร์  ที่ ๘  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๕๖

         ความรู้ที่ได้รับ
    สำหรับวันนี้เป็นคาบแรกของการเรียนวิชาการจัดประการการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  งวันนี้คุณครูได้อธิบายรายวิชา  บอกข้อตกลงต่างๆในการเรียนวิชานี้
          
         กิจกรรมในชั้นเรียน
    วันนี้คุณครูให้ทำ Mind  Mapping ที่ตนเองเข้าใจหรือทำเกี่ยวกับความรู้ที่เกี่ยวข้องการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ดังนี้  ผลงานของดิฉัน


 การนำไปใช้
  สำหรับวันนี้คุณครูได้อธิบายสามารถนำไปในการเรียนการสอนในอนาคตหรือชีวิตประจำวันได้