วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9






บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันศุกร์  ที่ 31  เดือนมกราคม  พ.ศ.2557




            วันนี้ในการเรียนการสอนวันสุดท้ายของเทอมนี้ และคาบสุดท้ายนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์  และสื่อของกลุ่มดิฉันชื่อว่า Funny Box  หรือ กล่องรูปทรงมหาสนุก


ผลงานของกลุ่มดิฉัน




ภาพการนำเสนอ




ภาพจากการนำไปให้เด็กเล่น






วิธีการเล่น  Funny Box
1.  ให้เด็กนำรูปทรงเรขาคณิตมาใส่ในกล่องลูกบาศก์ให้ได้  และใส่จนครบทุกช่อง
2.  อาจใส่ชิ้นส่วนรูปทรงเรขาคริตตามสีต้นเเบบหรือคนละสีก็ได้

ประโยขน์จากการใช้
1. เด็กได้ฝึกทักษะด้านการจำ  การจำแนก  และการสังเกต
2. เด็กได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ เช่น  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  วงกลม
3. เด็กได้รู้จักการกะขนาดของสิ้นส่วนต่างๆ
4. เด็กได้ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
5. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกทักษะในด้านร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
6. เด็กได้รู้จักการเลือกใช้สีที่เหมือนหรือแตกต่างจากต้นแบบได้อย่างถูกต้อง


สื่อที่ดิฉันชื่นชอบ  คือ จำนวนนับมหาสนุก




อุปกรณ์ จำนวนนับมหาสนุก
- ฟิวเจอร์บอร์ด
- ไม้ไอติม
- กาว กรรไกร ตีนตุ๊กแก
-  รูปภาพตัวเลข+ตัวการ์ตูน
-  ของตกแต่ง

วิธีการเล่น
     - คิดตัวเลขให้เด็กได้ดูในช่องซ้ายมือ  แล้วให้เด็กดูว่าเลขอะไร  ให้หยิบตัวการ์ตูนมาแปะตามช่องเท่ากับจำนวนตัวเลขที่แปะไว้

          สื่อที่ดิฉันชื่นชอบเพราะเป็นสื่อที่เรียบๆง่ายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เด็กได้สังเกต ได้รุ้จักตัวเลข และรู้จักจำนวน  หารเราต้องการที่จะทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนก็สามารถที่จะดัดแปลงเป็นรูปต่างๆได้อีก จะทำให้เด็กไม่เบื่อและให้เด็กมีความสนใจมากขึ้นอีก 














บันทึกอนุทินครั้งที่ 8




   

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์  ที่ 24  เดือนมกราคม  พ.ศ.2557


    วันนี้ได้เรียนเรื่อง แผนการสอนคณิตศาสตร์  ดดยวันนี้อาจารย์ได้อธิบายการเขียนแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปบมววัย โดยสามารถนำไปจัดการเรียนแบบบูรณาการในชีวิตประจำวันได้  ดดยแผนการสอนคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกวันให้ระบุในแต่ละช่วงชั้นของเด็กว่าได้การเรียนรู้อย่างไรกับคณิตศาสตร์


    กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ใหจับกลุ่มแและแบ่งกลุ่มละ 5-6คน   และให้เขียนผนและให้ช่วยกันแสดงความคิดแผนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ
      1. กิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุม
      2. กิจกรรมสร้างสรรค์
      3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
      5. กิจกรรมกลางแจ้ง
      6. เกมการศึกษา

                          กลุ่มของดิฉันได้เขียนแผนการสอน เรื่อง รูปเรขาคณิต



         แผนการสอนนี่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตรืในเรื่อง รูปเรขาคณิต  เด็กได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิตสองมิติ  จะประกอบด้วย รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม  จากที่ครูได้นำภาพอุปกร์เครื่องใช้รูปทรงต่างๆให้เด็กดู  แล้วถามเด็กว่าภาพอุปกรณ์ที่นำมามีรูปเรขาคณิตอะไรบ้าง จากนั้นแจกกระดาษให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการของตนเอง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7





บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันศุกร์  ที่ 17  เดือนมกราคม พ.ศ.2557



เนื้อหาในการเรียนวันนี้  วันนี้อาจารย์ได้ให้เเบ่งกลุ่ม และอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ 2งาน
งานชิ้นที่ 1 อาจารย์ให้ออกแบบการจัดการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยกลุ่มของดิฉันได้เรื่อง สัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวและสัตว์ออกลูกเป็นไข่


ผลงานของกลุ่มดิฉัน


ผลงานของกลุ่มเพื่อนๆ



งานชิ้นที่ 2  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกแบบสื่อให้เป็นพีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้เป็นตัวหนอน  โดยสื่อตัวหนอนออกมาจะต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่น รูปร่างสิ่งของคล้ายกับ รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม  รูปสีเหลี่ยม

ผลงานของกลุ่มดิฉัน


ผลงานของกลุ่มิฉันได้สร้างตัวหนอนพีชคณิตเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่วาดขึ้นจะสัมพันธ์กับรูป รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม


กิจกรรมในคาบเรียนวันนี้ได้ ทำใยห้เราได้สนุกสนานมากเหมือนกลับมาเป็นเด็กอีกครั้งและยังทำให้เราทำงานเป็นกลุ่ม และมีความสามัคคีกัน ชิ้นงานนี้สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ เพื่อนำการสอนใหม่ๆมาสอนเด็ก เด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อกับการสอนเดิมๆเด็กได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆเพิ่มเติมขึ้น





วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6




บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันศุกร์  ที่ 10  เดือนมกราคม  พ.ศ. 2557



เนื้อหาในการเรียนวันนี้  คือเรื่อง สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สาระมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค.ป. 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน



สาระที่ 2 การวัด 
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจถึงพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความสูง  การเปรียบเทียบความสูง




สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัด                                  กระทำ




สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กัน





สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1  รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งเเวดล้อม  










บันทึกอนุทินครั้งที่ 5





บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันศุกร์  ที่ 13  เดือนธันวาคม พ.ศ.2556


            กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเลือกรูปทรงเรขาคณิต รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม โดยที่อาจารย์ได้แจกรูุปทรงต่างๆให้นักศึกษาเลือก เลือกรูปทรงเรขาคณิตมาจิตนาการให้เป็นรูปต่างๆเพื่อเป็นความคิดสร้างสรรคืของนักศึกษาแต่ละคนว่าจะออกมาเป้นรูปอะไร 

            ส่วนดิฉันได้เลือกรูปทรงเรขาคณิต รูปวงกลม และตัดกระดาษแปะให้เป็นรูปส่วนปากกาใช้ตัดเส้นคอบส่วนประกอบต่างๆใช้กระดาษสีทำ ซึ่งรูปของดิฉันออกมาเป็นรูป หมี


       กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราสามารถนำไปสอนเด็ก เด็กจะได้เรียนรู้เกียวกับรู้ปทรงเรขาคณิต ทำให้เด็กรู้จัก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม เด็กสามารถนำไปสร้างสรรค์รูปทรงเรขาคณิตได้ด้วยตนเอง และสามารถออกมาเป็นรูปต่างๆ


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 4






บันทึกอนุทินครั้งที่ ๔
วัน ศุกร์  ที่ ๖ เดือนธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๖



    วันนี้คุณครูให้แต่ล่ะกลุ่มออกไปนำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน

ความรู้ที่ได้รับ
  กลุ่มที่ ๑. การนับ
   การนับ หมายถึง   การกระทำทางคณิตศาสตร์โดยใช้การบวกหรือการลบด้วยหนึ่งซ้ำๆ กัน ซึ่งมักใช้ในการหาคำตอบว่ามีวัตถุอยู่เท่าใด หรือเพื่อกำหนดจำนวนวัตถุที่ต้องการ โดยเริ่มจากหนึ่งสำหรับวัตถุชิ้นแรก และกระทำต่อไปบนวัตถุที่เหลือในลักษณะฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง 

 กลุ่มที่ ๒. การวัด 
  การวัด  หมายถึง    กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดของปริมาณอันหนึ่ง เช่นความยาวหรือมวล และเกี่ยวข้องกับหน่วยวัด
           ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่  การเปรียบเทียบและการจัดลำดับในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของหาว่าสิ่งใดยาวที่สุดจะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด

กลุ่มที่ ๓. เรขาคณิต
    เพื่อนๆในกลุ่มเรขาคณิตให้ปฏิทำท่าทางเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตในรูปทรงต่างๆโดยใช้อวัยวะต่างๆในการทำท่าทาง

กลุ่มที่ ๔. พึชคณิต
    คือการแทนค่าตัวเลขด้วยสัญลักษณ์  เช่น
X-Y=A
XY=A
X/Y=A   


กลุ่มที่ ๕. ความน่าจะเป็น
       การนำเอาลูกปิงปองมาสาธิตความน่าจะเป็น โดยเอาลูกปิงปองใส่ในแก้วแล้วจะให้เด็กคิดถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 3




แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ ๓
วันศุกร์  ที่ ๒๒  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๕๖


       วันนี้คณครูได้สอนเกี่ยวกับเทคนิคในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และท้ายคาบคุณครูมีงานใหทำสื่อเกียวกับตัวเลขที่มีดอกไม้แทนเป็นตัวเลข สื่อสำหรับวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้สามารถนำไปดัดแปลงตามความสนใจของเด็กได้ 


ผลงานวันนี้ดอกไม้ 4 กลีบ